เมนู

ว่าด้วยธรรมหมวด 5



พระเถระครั้นแสดงสามัคคีรสด้วยอำนาจหมวด ด้วยประการฉะนี้
แล้ว บัดนี้หวังจะแสดงด้วยอำนาจหมวด 5 จึงเริ่มเทศนาอีก. ในหมวด 5
นั้น พึงทราบอธิบายดังนี้. บรรดาขันธ์ 5 รูปขันธ์ เป็นโลกิยะ. ขันธ์
ที่เหลือ เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตตระ. อุปทานขันธ์ เป็นโลกิยะอย่างเดียว.
ก็กถาว่าด้วยขันธ์ ท่านกล่าวไว้โดยพิสดารแล้ว ในวิสุทฐิมรรค. กามคุณ
ทั้งหลาย ท่านให้พิสดารแล้วในหนหลัง. ที่ชื่อว่า คติ เพราะอรรถว่าสัตว์
พึงดำเนินไป เพราะกรรมที่ทำดี และกรรมที่ทำไม่ดีเป็นต้น. ข้อว่า นิรโย
แปลว่า หมดความยินดี. ขันธ์ทั้งหลาย ท่านกล่าวไว้พร้อมกับโอกาส (ที่อยู่)
ร่วมกัน. ขันธ์ที่เกิดขึ้นในที่ 3 แห่ง นอกจากนี้ ท่านกล่าวแล้ว. แม้โอกาส
ท่านก็กล่าวไว้แล้วในขันธ์ที่ 4.
ความตระหนี่ในอาวาส ชื่อว่า อาวาสมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบ
ด้วยอาวาสมัจฉริยะนั้น เห็นอาคันตุกะแล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า ในอาวาส
หลังนี้เขาเก็บบริขารของเจดีย์ หรือของสงฆ์ไว้ ย่อมกันอาวาสแม้ที่เป็นของ
สงฆ์. เธอทำกาละแล้ว ย่อมไปเกิดเป็นเปรต หรืองูเหลือม. ความตระหนี่
ในตระกูลชื่อว่า กุลมัจฉริยะ ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่ในตระกูล
นั้น ย่อมกันภิกษุพวกอื่นจะเข้าไปในตระกูลอุปัฏฐากของตน ด้วยเหตุนั้น ๆ.
ความตระหนี่ในลาภ ชื่อว่า ลาภมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่
ในลาภนั้น ตระหนี่ลาภแม้เป็นของสงฆ์ กระทำโดยประการที่ภิกษุพวกอื่น
จะไม่ได้. ความตระหนี่ในวรรณะ ชื่อว่า วรรณมัจฉริยะ. ก็ในคำว่า
วณฺโณ นี้ บัณฑิตพึงทราบ ทั้งสรีรวรรณะ ทั้งคุณวรรณะ. ความตระหนี่
ในปริยัติธรรม ชื่อว่า ธรรมมัจฉริยะ. ภิกษุผู้ประกอบด้วยความตระหนี่
ในปริยัติธรรมนั้น ย่อมไม่ให้ ( ปริยัติธรรม ) แก่ภิกษุอื่นด้วยคิดเสียว่า

ภิกษุนี้เรียนธรรมนี้แล้วจักข่มเรา. ส่วนภิกษุใดไม่ให้เพราะอนุเคราะห์
ธรรม หรืออนุเคราะห์บุคคล อันนั้นไม่จัดเป็นควานตระหนี่ ( สำหรับ
ภิกษุนั้น).
ธรรมชาติที่ชื่อว่า นิวรณ์ เพราะอรรถว่า ห้าม คือ ปิดกั้นจิตไว้.
กามฉันท์ที่ถึงความเป็นนิวรณ์ ฆ่าด้วยอรหัตมรรคได้. อนุสัยคือกามราคะ
ที่ถึงความเป็นกามราคสังโยชน์ ฆ่าด้วยอนาคามิมรรคได้. ถีนะ เป็นความ
ขัดข้องทางจิต. มิทธะ เป็นความขัดข้องของขันธ์ 3. ถีนะ และมิทธะ
แม้ทั้งสอง ฆ่าด้วยอรหัตมรรคได้. อุทธัจจะ ก็เหมือนกัน. กุกกุจจะ
ฆ่าด้วยอนาคามิมรรคได้. วิจิกิจฉา ฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรคได้.
ข้อว่า สญฺโญชนานิ ได้แก่ เครื่องผูกมัด. ก็บรรดาบุคคลที่ถูก
สัญโยชน์เหล่านั้นผูกไว้ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ซึ่งเกิดในรูปภพ
และอรูปภพ ชื่อว่า นอนแล้วในภายนอกจากเครื่องผูกในภายใน. จริงอยู่
พระโสดาบันและพระสกทาคามีเหล่านั้น ยังมีเครื่องผูกมัดไว้ในกามภพ.
พระอนาคามี ชื่อว่า นอนในภายในจากเครื่องผูกในภายนอก ในกามภพ.
จริงอยู่ สำหรับพระอนาคามีเหล่านั้น ยังมีเครื่องผูกมัดไว้ในรูปภพ และ
อรูปภพ. พระโสดาบัน และพระสกทาคามี ชื่อว่านอนในภายในจากเครื่อง
ผูกในภายใน ในกามภพ. พระอนาคามี ชื่อว่า นอนในภายนอกจาก
เครื่องผูกในภายนอก ในรูปภพ และอรูปภพ. พระขีณาสพ ไม่มีเครื่อง
มัดไว้ในทุก ๆ ภพ.
บทที่พึงศึกษา ชื่อว่า สิกขาบท. อธิบายว่า ส่วนแห่งสิกขา.
อีกอย่างหนึ่งว่า บทแห่งสิกขา ชื่อว่า สิกขาบท. อธิบายว่า อุบายเครื่อง
บรรลุอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา. นี้เป็นความย่อในที่นี้ . ส่วนกถา
แห่งสิกขาบท โดยพิสดาร มาแล้วในสิกขาบทวิภังค์ในวิภังค์ปกรณ์นั่นแล.

คำเป็นต้นว่า อาวุโส ภิกษุผู้ขีณาสพเป็นผู้ไม่ควรที่จะแกล้งฆ่าสัตว์
ดังนี้ เป็นหัวข้อแห่งเทศนานั้นแล. ถึงแม้พระโสดาบันเป็นต้น ก็เป็นผู้
ไม่ควร. การนินทาและการสรรเสริญ ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ สำหรับปุถุชน
และพระขีณาสพ. ธรรมดาว่า ปุถุชน ที่เป็นคนต่ำช้า ย่อมทำแม้การฆ่า
มารดาเสียก็ได้. ส่วนพระขีณาสพ เป็นผู้สูงส่ง ย่อมไม่กระทำแม้การฆ่า
มดดำมดแดงเป็นต้น.
ในความย่อยยับทั้งหลาย มีเนื้อความดังต่อไปนี้ . ข้อว่า พฺยสติ
แปลว่า ความฉิบหาย. อธิบายว่า ซัดไป คือ กำจัดประโยชน์เกื้อกูล
และความสุขเสีย. ความพินาศแห่งญาติ ชื่อว่า ญาติพยสนะ. อธิบายว่า
ความพินาศแห่งญาติ เพราะโจรภัย และโรคภัยเป็นต้น. ความพินาศแห่ง
โภคะ ชื่อว่า โภคพยสนะ. อธิบายว่า ความพินาศแห่งโภคะ ด้วยอำนาจ
พระราชา และโจรเป็นต้น. ความพินาศคือโรค ชื่อว่า โรคพยสนะ.
จริงอยู่ โรคย่อมทำลาย คือ ยังความไม่มีโรค ให้พินาศไป เพราะเหตุนั้น
จึงชื่อว่า พยสนะ. ความพินาศแห่งศีล ชื่อว่า สีลพยสนะ. คำนี้เป็น
ชื่อของความทุศีล. ความย่อยยับ คือ ทิฏฐิ ซึ่งทำสัมมาทิฏฐิให้พินาศ
เกิดขึ้น ชื่อว่า ทิฏฐิพยสนะ. ก็ในข้อนี้ ความย่อยยับ 3 อย่าง มีความ
ย่อยยับแห่งญาติเป็นต้น เป็นอกุศลหามิได้ ( ทั้ง ) ไม่ทำลายลักษณะ 3
ด้วย. ความย่อยยับแห่งศีลและทิฏฐิทั้ง 2 เป็นอกุศล ไม่ทำลายลักษณะ 3.
เพราะเหตุนั้น นั่นแหละท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า นาวุโส สตฺตา
ญาติพฺยสนเหตุ วา
ดังนี้.

ข้อว่า ญาติสมฺปทา ความว่า ความถึงพร้อม ความบริบูรณ์
ความมีญาติมาก. แม้ในความถึงพร้อมแห่งโภคะเป็นต้น ก็นัยนี้. ความถึง
พร้อมแห่งความเป็นผู้ไม่มีโรค ชื่อว่า อาโรคยสัมปทา ได้แก่ ความเป็นผู้
ไม่มีโรคตลอดกาลนาน. แม้ในความถึงพร้อมแห่งศีลและทิฏฐิเป็นต้น
ก็นัยนี้. แม้ในข้อนี้ ความถึงพร้อมแห่งญาติเป็นต้น ไม่เป็นกุศล ไม่ทำลาย
ลักษณะ 3. ความถึงพร้อมแห่งศีลและทิฏฐิ เป็นกุศลไม่ทำลายลักษณะ 3.
เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า นาวุโส สตฺตา ญาติ-
สมฺปทาเหตุ วา.
กถาว่าด้วยศีลวิบัติ และศีลสมบัติ ท่านให้พิสดารแล้ว
ในมหาปรินิพพานสูตรแล.
ข้อว่า โจทเกน ความว่า ถูกโจทด้วยเรื่องสำหรับโจท 4 อย่างคือ
การเทียบเคียงเรื่องราว การเทียบเคียงอาบัติ การห้ามการอยู่ร่วม การห้าม
สามีจิกรรม.ในข้อว่า กาเลน วกฺขามิ โน อกาเลน ความว่า สำหรับจำเลย
ต้องบอกเวลาสำหรับโจทก์ไม่ต้อง จริงอยู่ ภิกษุเมื่อจะโจท ผู้อื่นไม่พึงโจท
ในท่ามกลางบริษัท ในโรงอุโบสถ ในโรงปวารณา หรือในโรงฉัน โรงเลี้ยง
เป็นต้น. เวลาที่ท่านนั่งพักในที่พักกลางวัน พึงให้ท่านให้โอกาสเสียก่อน
แล้วจึงโจทขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ขอท่านจงให้โอกาส ผมต้องการ
จะพูดกับท่าน. ก็ครั้นสอบสวนบุคคลแล้ว ผู้ใดเป็นบุคคลเหลาะแหละ
พูดเท็จ ยกโทษมิใช่ยศขึ้นแก่พวกภิกษุทั้งหลาย ผู้นั้นแม้เว้นการทำโอกาส
ก็โจทได้. ข้อว่า ภูเตน ความว่า ตามสภาพที่เป็นจริง. ข้อว่า สณฺเหน
ความว่า เกลี้ยงเกลา อ่อนโยน. ข้อว่า อตฺถสญฺหิเตน ความว่า ด้วยการ
เข้าถึงโดยความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ ความเป็นผู้ใคร่ความเกื้อกูล.

ข้อว่า ปธานิยงฺคานิ ความว่า ภาวะที่เป็นที่ตั้ง ท่านเรียกว่า
ปธาน. ปธานของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นบุคคลนั้นชื่อว่า ปธานิยะ.
องค์แห่งภิกษุผู้มีปาน ชื่อว่า ปธานิยังคะ (องค์แห่งภิกษุผู้มีความเพียร).
ข้อว่า สทฺโธ ความว่า ประกอบด้วยศรัทธา. ก็ศรัทธามี 4 อย่างคือ
อาคมนศรัทธา อธิคมนศรัทธา โอกัปปนศรัทธา ปสาทศรัทธา.
บรรดาศรัทธา 4 อย่างนั้น ความเชื่อต่อปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ของพระ
โพธิสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า อาคมนศรัทธา เพราะมาแล้วตั้งแต่ ( เริ่มทำ
อภินิหาร. ความเชื่อต่อพระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า. อธิคมนศรัทธา
เพราะบรรลุแล้วด้วยการแทงตลอด. เมื่อมีคนกล่าวว่า พระพุทธเจ้า พระ-
ธรรม พระสงฆ์ ดังนี้แล้ว การปลงใจลงเชื่อโดยความไม่หวั่นไหว ชื่อว่า
โอกัปปนศรัทธา. ความเกิดขึ้นแห่งความเลื่อมใส ชื่อว่า ปสาทศรัทธา.
ในที่นี้ท่านประสงค์เอาศรัทธาคือการปลงใจลงเชื่อ. ข้อว่า โพธิ ได้แก่
ญาณในมรรคที่ 4. บุคคลย่อมเชื่อว่า ญาณในมรรคที่ 4 นั้นเป็นอันพระ
ตถาคตเจ้าตรัสรู้แล้ว. ก็คำนี้เป็นแง่แห่งเทศนานั้นเทียว. ก็ความเชื่อใน
รัตนะแม้ทั้ง 3 ประการด้วยองค์นี้ ท่านประสงค์เอาแล้ว. จริงอยู่ ความ
เลื่อมใสในพระรัตนตรัย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ของบุคคลใดเป็นสภาพ
มีกำลัง ความเพียรที่ตั้งไว้ของบุคคลนั้น ย่อมสำเร็จได้. ข้อว่า อุปฺปาพาโธ
แปลว่า ไม่มีโรค. ข้อว่า อปฺปาตงฺโก แปลว่า หมดทุกข์. ข้อว่า สมเว-
ปากินิยา
แปลว่า มีผลสุกงอม. ข้อว่า คหณิยา ได้แก่ เตโชธาตุ ซึ่ง
เกิดแต่กรรม ข้อว่า นาติสีตาย นาจฺจุณฺหาย ความว่า ก็บุคคลที่มีน้ำย่อย
ออกมาเย็นมาก. ย่อมกลัวต่อความเย็น บุคคลที่มีน้ำย่อยออกมาร้อนมาก
ย่อมกลัวต่อความร้อน. ความเพียรย่อมไม่สำเร็จแก่พวกเขา. สำหรับบุคคล

ผู้ที่มีน้ำย่อยพอปานกลาง สำเร็จได้. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เหมาะ
แก่ความเพียรระดับกลาง. ข้อว่า ยถาภูตํ อตฺตานํ อาวิกตฺตา ความว่า
ประกาศโทษของตนตามที่เป็นจริง. ข้อว่า อุทยตฺถคามินิยา ความว่า
สามารถที่จะขึ้นไปและที่จะกำหนดถึงเวลาขึ้นและเวลาตก. อุทยัพยญาณที่
กำหนดเอาลักษณะ 50 ประการ ท่านกล่าวไว้ด้วยคำนี้. ข้อว่า อริยาย
ความว่า สะอาดหมดจด. ข้อว่า นิพฺเพธิกาย ความว่า สามารถเพื่อ
แทงตลอดขันธ์มีความโลภ เป็นต้น ซึ่งไม่เคยรู้มาก่อน. ข้อว่า สมฺมา-
ทุกฺขกฺขยคามินิยา
ความว่า ทุกข์ใด ๆ จะสิ้นไปได้ ดำเนินไปเพื่อความ
สิ้นทุกข์นั้นๆ เพราะละกิเลสได้ด้วยอำนาจองค์นั้นๆ. วิปัสสนาปัญญา
ท่านกล่าวไว้ด้วยบทเหล่านี้ทุกบท ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ความเพียรหา
สำเร็จแก่คนทรามปัญญาไม่.
ข้อว่า สุทฺธาวาสา ความว่า พวกพรหมชั้นสุทธาวาส อยู่แล้ว
กำลังอยู่ หรือจักอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุทธาวาส. ข้อว่า สุทฺธา
ได้แก่ พระอนาคามี และพระขีณาสพ ซึ่งปราศจากกิเลสมลทิน. คำใด
ที่พึงกล่าวในข้อว่า อวิหา เป็นต้น คำนั้นท่านกล่าวไว้แล้ว ในมหาปทาน.
สูตรนั่นแล.
ในบรรดาพระอนาคามีบุคคลทั้งหลาย พึงทราบดังต่อไปนี้. พระ-
อนาคามีผู้ยังไม่ล่วงวัยกลางคน แล้วบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นการดับกิเลส
เสียได้ในระหว่าง ชื่อว่า อันตรปรินิพพายี ( ปรินิพพานในระหว่าง ).
พระอนาคามีผู้ล่วงเลยวัยกลางคนไปแล้ว จึงบรรลุชื่อว่า อุปหัจจปรินิพพายี
(นิพพานเมื่อล่วงวัยกลางคนแล้ว ) พระอนาคามีผู้ไม่ลำบากเพราะไม่ต้อง
ประกอบความเพียร โดยไม่มีสังขาร ( เครื่องปรุงแต่งช่วยเหลือ ) บรรลุได้

อย่างง่ายดาย ชื่อว่า อสํขารปรินิพฺพายี ( นิพพานโดยไม่มีสังขาร ) พระ-
อนาคามีผู้ลำบาก เพราะต้องประกอบความเพียร พร้อมกับสังขาร บรรลุ
ได้โดยความลำบาก ชื่อว่า สสังขารปรินิพพายี (ปรินิพพานพร้อมสังขาร)
พระอนาคามีทั้ง 4 เหล่านี้ หาได้ในสุทธาวาสทั้ง 5 ชั้น. บัณฑิตพึงทราบ
หมวด 4 ในข้อว่า อุทฺธํโสโต อกนิฏฺฐคามี นี้ต่อไป. ก็พระอนาคามีท่านใด
ชำระเทวโลกสี่ชั้น ตั้งแต่ชั้นอวิหาไปให้หมดจด ไปยังอกนิฏฐภพแล้ว
ปรินิพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสในเบื้องบน ไปยังอกนิฏฐภพ
พระอนาคามีท่านใด ไปยังเทวโลกชั้นที่ 2 ที่ 3 หรือที่ ตั้งแต่ชั้นอวิหา
ไป แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสในเบื้องบน ไม่
ไปยังอกนิฏฐภพ. พระอนาคามีท่านใด จากกามภพ แล้วเกิดในอกนิฎฐภพ
แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า. ไม่มีกระแสในเบื้องบน ไปยัง
อกนิฏฐภพ. พระอนาคามีท่านใดบังเกิดในที่นั้น ๆ นั่นแหละ บรรดาเทว
โลก 4 ชั้นเบื้องล่าง แล้วปรินิพพาน พระอนาคามีนี้ ชื่อว่า มีกระแสใน
เบื้องบน ไม่ชื่อว่า ไปยังอกนิฏฐภพ.
ข้อว่า เจโตขีลา ความว่า ภาวะที่จิตแข็งกระด้าง. ข้อว่า สตฺถริ กงฺขติ
ความว่า ย่อมสงสัยใน พระสรีระ หรือในพระคุณของพระศาสดา. บุคคล
เมื่อสงสัยในพระสรีระย่อมสงสัยไปว่า ขึ้นชื่อว่าสรีระที่ประดับด้วยมหา
ปุริสลักษณะ อันประเสริฐ 32 ประการ มีอยู่หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัย
ในพระคุณ. ย่อมสงสัยว่า สัพพัญญุตญาณ ที่สามารถจะรู้อดีตอนาคต
และปัจจุบัน มีหรือไม่หนอ. ข้อว่า อาคปฺปาย ความว่า เพื่อบำเพ็ญเพียร.
ข้อว่า อนุโยคาย ความว่า โดยการประกอบเนื่อง ๆ . ข้อว่า สาตจฺจาย
ความว่า โดยกระทำติดต่อ. ข้อว่า ปธานาย ความว่า เพื่อการตั้งไว้.
ข้อว่า อยํ ปฐโม เจโตขีโล นี้ความว่า ความที่จิตกระด้างข้อแรกนี้ได้

แก่ความสงสัยในพระศาสดา. ข้อว่า ธมฺเม ความว่า ในปริยัติธรรม และ
ปฏิเวธธรรม. บุคคลผู้สงสัยในปริยัติธรรม ย่อมสงสัยว่าคนทั้งหลายพูด
กันว่า พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฏกมี 84,000 พระธรรมขันธ์ พระ-
พุทธพจน์นั้นมีอยู่หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัยในปฏิเวธธรรม ย่อมสงสัยว่า
คนทั้งหลายพากันพูดว่าผลของวิปัสสนา ชื่อว่า มรรค ผลของมรรค ชื่อว่า
ผล การสละสังขารทั้งปวงเสียได้ชื่อว่า นิพาน นิพานนั้นมีอยู่หรือไม่หนอ.
ข้อว่า สงฺเฆ กงฺขติ ความว่า ย่อมสงสัยว่าประชุมแห่งบุคคลผู้ปฏิบัติปฏิทา
อย่างนี้ ด้วยอำนาจแห่งบทเป็นต้นว่า อุชุปฏิปนฺโน ดังนี้มี 8 คือ พระผู้
ตั้งอยู่ในมรรค 4 พระผู้ตั้งอยู่ในผล 4 ชื่อว่า พระสงฆ์ พระสงฆ์นั้นมีอยู่
หรือไม่หนอ. บุคคลผู้สงสัยในสิกขา ย่อมสงสัยว่า คนทั้งหลายพูดว่า ชื่อว่า
อธิสีลสิกขา ชื่อว่าอธิจิตตสิกขา ชื่อว่า อธิปัญญาสิกขา สิกขานั้นมีอยู่หรือ
ไม่หนอ ข้อว่า อยํ ปญฺจโม นี้ความว่า ภาวะที่จิตแข็ง ภาวะที่จิตเป็น
ดุจกองหยากเยื่อ ภาวะที่จิตเป็นดุจตอนี้เป็นที่ 5 ได้แก่ความโกรธเคือง
ในเรื่องพรหมจารีทั้งหลาย.
ข้อว่า เจตโส วินิพนฺธา ความว่า เหล่ากิเลสที่ชื่อว่า เป็นเครื่อง
ผูกมัดจิตไว้ เพราะอรรถว่า ผูกจิตยึดไว้ เหมือนทำไว้ในกำมือฉะนั้น.
ข้อว่า กาเมสุ ความว่า ทั้งในวัตถุกาม ทั้งในกิเลสกาม. ข้อว่า กาเย
ได้แก่ กรัชกายของตน. ข้อว่า รูเป ได้แก่ รูปภายนอก. ข้อว่า ยาวทตฺถํ
ความว่า เท่าที่ต้องการ. ข้อว่า อุทราวเทหกํ ความว่า เต็มท้อง. จริงอยู่
ท้องนั้นท่านเรียกว่า อุทราวเทหกัง เพราะเลี้ยงร่างกายไว้. ข้อว่า เสยฺยสุขํ
ความว่า มีความสุขเพราะเตียงและตั่ง. ข้อว่า ปสฺสสุขํ ความว่า สำหรับ
บุคคลผู้นอนกลิ้งไปตามสบาย นอนตะแคงขวา หรือนอนตะแคงซ้าย ก็มี

ความสุข ความสุขเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้. ข้อว่า มิทฺธสุขํ ความว่า สุขอัน
เกิดจากความหลับ. ข้อว่า อนุยุตฺโต ความว่า ประกอบสิ่งที่สมควรอยู่.
ข้อว่า ปณิธาย ความว่า ตั้งไว้เเล้ว. ข้อว่า พฺรหฺมจริเยน ความว่า
ประพฤติพรหมจรรย์งดเว้นเมถุน. ข้อว่า เทโว วา ภวิสฺสามิ ความว่า
เราจักเป็นเทพผู้มีศักดิ์ใหญ่หรือ. ข้อว่า เทวญฺญตโร วา ความว่า หรือว่า
บรรดาเทพผู้มีศักดิ์น้อยทั้งหลาย เทพองค์ใดองค์หนึ่ง.
พึงทราบวินิจฉัยในอินทรีย์ทั้งหลายต่อไป. อินทรีย์ที่เป็นโลกิยะ
เท่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในปัญจกะที่หนึ่ง. ปฐมฌานทุติยฌาน และ
จตุตถฌานที่เป็นโลกิยะ ท่านกล่าวไว้แล้วในปัญจกะที่ 2 ตติยฌานและ
ปัญจมฌาน เป็นทั้งโลกิยะ. และโลกุตตระ ( ท่านก็กล่าวไว้ในปัญจกะ
ที่ 2 ). ที่เป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ท่านกล่าวไว้ในปัญจกะที่ 3 ด้วย
อำนาจสมถะ วิปัสสนา และมรรค.
ข้อว่า นิสฺสารณียา ความว่า แล่นออกไป คือ หมดความทรงจำ.
ข้อว่า ธาตุโย ได้แก่ สภาวะที่ว่างจากตัวตน. ข้อว่า กามํ มนสิกโรติ
ความว่า นึกถึงแต่เรื่องกาม. อธิบายว่า ออกจากอสุภฌานแล้ว ส่งจิต
มุ่งต่อกาม เพื่อจะทดลองดู เหมือนคนจับงูแล้วจะทดลองพิษดูฉะนั้น.
ข้อว่า น ปกฺขนฺทติ ความว่า ไม่เข้าไป. ข้อว่า น ปสิทติ ความว่า
ไม่ถึงกับเลื่อมใส. ข้อว่า น สนฺติฏฺฐติ ความว่า ตั้งอยู่ไม่ได้. ข้อว่า
น วิมุจฺจติ ความว่า ไม่หลุดพ้นไปได้. ขนปีกไก่ หรือท่อนเอ็นที่คน
โยนเข้าในไฟ ย่อมหงิก งอ ม้วนเข้า คือไม่เหยียดออก ฉันใด จิตนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมหดหู่ ไม่ร่าเริง. ในข้อว่า เนกฺขมฺมํ โข ปน
นี้ ความว่า ปฐมฌานในอสุภ 10 ชื่อว่า เนกขัมมะ. เมื่อบุคคลนั้น
มนสิการถึงปฐมฌานนั้น จิตก็ย่อมแล่นไป. ข้อว่า ตสฺส ตํ จิตฺตํ ความว่า

อสุภฌาน จิตดวงนั้นของบุคคลนั้น. ข้อว่า สุคตํ ความว่า ดำเนินไปดี
เพราะไปในโคจร. ข้อว่า สุภาวิตํ ความว่า อบรมมาอย่างดี เพราะ
เป็นส่วนที่ไม่เลวทราม. ข้อว่า สุวุฏฺฐิตํ ความว่า ออกจากกามได้ด้วยดี.
ข้อว่า สุวิมุตฺตํ ความว่า พ่นเด็ดขาดด้วยดีจากกามทั้งหลาย. อาสวะ 4
ที่มีกามเป็นเหตุ ชื่อว่า อาสวะมีกามเป็นปัจจัย. ข้อว่า วิฆาตา แปลว่า
เป็นทุกข์. ข้อว่า ปริฬาหา ความว่า เร่าร้อนเพราะกามระคะ. ข้อว่า
น โส ตํ เวทนํ เวเทติ ความว่า บุคคลนั้น ย่อมไม่เสวยเวทนา
อันเกิดจากความใคร่ และเวทนาอันเกิดจากความคับแค้น และความ
เดือดร้อนนั้น. ข้อว่า อิทมกฺขาตํ กามานํ นิสฺสรณํ ความว่า อสุภฌานนี้
ท่านกล่าวว่า เป็นเครื่องสลัดกามออกไป เพราะสลัดออกไปจากกาม
ทั้งหลาย. ก็บุคคลใดทำฌานนั้นให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย
บรรลุมรรคที่ 3 เห็นพระนิพพานด้วยอนาคามิผล รู้ว่า ชื่อว่า กาม
ทั้งหลายไม่มีอีก จิตของบุคคลนั้น ก็เป็นอันสลัดออกไปได้อย่างแน่นอน
(จากกามทั้งหลาย). แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. อันนี้
เป็นข้อที่แตกต่างกัน. ในวาระที่ 2 เมตตาฌาน ชื่อว่า เป็นการสลัด
พยาบาทออกไป. ในวาระที่ 3 กรุณาฌาน ชื่อว่า การสลัดออกไปจาก
ความเบียดเบียน. ในวาระที่ 4 อรูปฌาน ชื่อว่า การสลัดออกไปซึ่งรูป.
ก็ในข้อนี้ พึงประกอบอรหัตผลเข้าในการสลัดออกได้อย่างแน่นอน
พึงทราบอธิบายในวาระที่ 5 ต่อไป. ข้อว่า สกฺกายํ มนสิกโรโต
ความว่า พระขีณาสพสุกขวิปัสสก กำหนดเอาสังขารที่ หมดจด
แล้วบรรลุพระอรหัตออกจากผลสมาบัติ ส่งจิตมุ่งตรงไปยังอุปาทาน ขันธ์ 5
เพื่อจะทดลองดู. ข้อว่า อิทมกฺขาตํ สกฺกายสฺส นิสฺสรณํ นี้ ความว่า
จิตที่สัมปยุตด้วยอรหัตผลสมาบัติเกิดขึ้นว่า ร่างกายของเราจะไม่มีอีก

ต่อไปของภิกษุผู้เห็นพระนิพพานด้วยอรหัตมรรค และอรหัตผล ท่าน
เรียกว่า การสลัดออกซึ่งกายของตน.
ข้อว่า วิมุตฺตายตนานิ ความว่า เหตุแห่งการหลุดพ้น. ข้อว่า
อตฺถปฏิสํเวทิโน ความว่า รู้อรรถแห่งพระบาลี. ข้อว่า ธมฺมปฏิสํเวทิโน
ความว่า รู้พระบาลี. ข้อว่า ปาโมชฺชํ ได้แก่ ปิติอย่างอ่อน. ข้อว่า ปิติ
ความว่า ปิติอย่างรุนแรง อันเป็นเหตุแห่งอาการยินดี. ข้อว่า กาโย ความว่า
นามกายย่อมสงบ. ข้อว่า สุขํ เวเทติ ความว่า ได้รับความสุข. ข้อว่า
จิตฺตํ สมาธิยติ ความว่า จิตตั้งมั่น ด้วยอรหัตตผลสมาธิ. ก็บุคคลนี้
เมื่อฟังธรรมนั้นย่อมรู้ฌานวิปัสสนามรรค และผลในฐานที่มาแล้ว และ
มาแล้ว. เมื่อเธอรู้อยู่อย่างนี้ ปิติย่อมเกิดขึ้น. เธอไม่ยอมให้ปิตินั้นลดถอย
ลงเสียในระหว่าง เป็นผู้ประกอบไปด้วย อุปจารกัมมัฏฐาน เจริญวิปัสสนา
ย่อมบรรลุพระอรหัต คำว่า จิตตั้งมั่นดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระอรหัต
นั้น. แม้ในคำที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็นข้อที่แตกต่างกัน. ข้อว่า
สมาธินิมิตฺตํ ความว่า บรรดาอารมณ์ 38 สมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นเอง
ชื่อว่า สมาธินิมิต. ข้อว่า สุคหิตํ โหติ ความว่า เมื่อเธอเรียนเอา
กรรมฐานในสำนักอาจารย์ ก็ชื่อว่า เป็นอันเรียนอย่างดี. ข้อว่า สุมนสิกตํ
ความว่า ทำไว้ในใจอย่างดี. ข้อว่า สุปธาริตํ ความว่า จำทรงไว้ได้อย่างดี.
ข้อว่า สุปฏิวทฺธํ ปญฺญาย ความว่า ทำให้ประจักษ์ด้วยดีด้วยปัญญา.
ข้อว่า ตสฺมึ ธมฺเม ความว่า ธรรมในพระบาลีว่าด้วยเรื่องกรรมฐานนั้น.
ข้อว่า วิมุตฺติปริปาจนิยา ความว่า ความหลุดพ้น ท่านเรียกว่า
อรหัต คุณธรรมเหล่าใดย่อมอบรมพระอรหัตต์นั้น เพราะเหตุนั้น คุณ-
ธรรมนั้น จึงชื่อว่า วิมุตติปริปาจนิยา. บทว่า อนิจฺจสญฺญา ความว่า

สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า อนิจฺเจ ทุกฺขสญฺญา
ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า ทุกฺเข
อนตฺตสญฺญา
ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในอนัตตานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
ปหานสญฺญา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นใน ปหานานุปัสสนาญาณ. ข้อว่า
วิราคสญฺญา ความว่า สัญญาซึ่งเกิดขึ้นในวิราคานุปัสสนาญาณ. คำเป็น
ต้นว่า อิเม โข อาวุโส พึงประกอบเข้ากับนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ.
พระเถระเมื่อกล่าวปัญหา 130 ด้วยสามารถแห่งปัญจกะ 26 ชื่อว่าแสดง
สามัคคีรสแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบหมวด 5

ว่าด้วยธรรมหมวด 6



พระเถระ ( พระสารีบุตร ) ครั้นแสดงสามัคคีรส ด้วยสามารถ
แห่งธรรมหมวดห้า ด้วยประการฉะนั้นแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงสามัคคีรส
ด้วยสามารถแห่งธรรมหมวดหก จึงเริ่มปรารภพระธรรมเทศนาต่อไปอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌตฺติกานิ ได้แก่อายตนะภายใน.
บทว่า พาหิรานิ ได้แก่ อายตนะที่มีในภายนอกจากอายตนะภายในนั้น.
ส่วนว่า อายตนะกถาโดยพิสดาร ข้าพเจ้า ( พระพุทธโฆษาจารย์ ) กล่าวไว้
ในวิสุทธิมรรคแล้วแล. บทว่า วิญฺญาณกายา ได้แก่ หมู่แห่งวิญญาณ.
บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ ได้แก่ วิญญาณที่เป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก
อันอาศัยจักษุประสาท. ในวิญญาณทั้งปวง ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
จกฺขุสมฺผสฺโส ได้แก่ สัมผัสอันอาศัยจักษุ. แม้ในโสตสัมผัสเป็นต้น